Trans-Pacific Partnership (TPP): News & Developments

Trans-Pacific Partnership (TPP): News & Developments

สถาบัน Peterson Institute for International Economics วิเคราะห์ผลกระทบของ ความตกลง TPP ต่อระบบการค้าโลก รายงานศึกษาล่าสุดของสถาบัน Peterson Institute for International Economics (PIIE) เรื่อง Implications of the Trans-Pacific Partnership for the World Trading System ซึ่งวิเคราะห์ผลกระทบของความตกลง TPP ต่อระบบการค้าโลกและมีข้อสังเกตที่น่าสนใจ ดังนี้

ผลกระทบต่อการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในกรอบความตกลงการค้าเสรีอื่น

  1. หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะเข้าร่วมความตกลง TPP ทันทีที่มีผลบังคับ ใช้ด้วยเหตุผลหลักที่สำคัญว่า (1) การไม่เข้าร่วมจะก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนทางการค้าและการลงทุนไปยัง ประเทศภาคี TPP อื่น และท าให้เกิดการขาดตอนในห่วงโซ่การผลิต และ (2) การเข้าร่วมความตกลง TPP ซึ่งมีมาตรฐานสูงจะเป็นกลไกที่จะช่วยสนับสนุนการปฏิรูปเศรษฐกิจภายในประเทศ เสริมสร้าง ความสามารถทางการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ และขยายอัตราการ เจริญเติบโตของผลผลิตในระบบเศรษฐกิจ
  2. ความตกลง TPP จะเป็นต้นแบบของความตกลงเขตการค้าเสรียุคใหม่และขับเคลื่อนการเปิดเสรีทางการค้า ในลักษณะ competitive liberalization ซึ่งหมายถึงทั้งการสนับสนุนการปฏิรูปเศรษฐกิจ การค้า และ การลงทุนภายในกลุ่มประเทศภาคี TPP เอง และการผลักดันให้ประเทศที่ไม่ได้เป็นภาคีต้องปรับตัวให้เท่า ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบการค้าการลงทุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจากมาตรฐานใหม่ของ ความตกลง TPP

พลวัตของความตกลง TPP และ RCEP

  1. ความตกลง TPP ไม่ใช่ความตกลงที่เป็นคู่แข่งกับความตกลง RCEP แต่เป็นความตกลงที่สามารถช่วย เสริมสร้างและเอื้อประโยชน์(complementary and mutually reinforcing) ต่อกันและกันในด้านต่างๆ อย่างไรก็ตาม ความตกลงทั้ง 2 ก็มีคุณลักษณะที่โดดเด่นในมุมที่ต่างกัน โดยที่ความตกลง TPP ประสบ ผลส าเร็จในการเจรจาก่อน ส่งผลให้ความตกลง TPP มี first mover advantage ในการที่จะสามารถ ก าหนดกฎกติกาทางการค้าการลงทุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้ โดยที่ความตกลง TPP มีเนื้อหา ครอบคลุมและมาตรฐานสูงกว่าข้อก าหนดภายใต้RCEP จะส่งผลให้เกิดช่องว่างระหว่างประเทศที่เป็นภาคี RCEP ที่อยู่ในความตกลง TPP อย่าง ออสเตรเลีย บรูไน ญี่ปุ่น มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และเวียดนาม ซึ่งมีการยกระดับมาตรฐานการค้าการลงทุนเพื่อให้สอดคล้องกับข้อก าหนดภายใต้ความตกลง TPP กับ ประเทศภาคี RCEP ที่ไม่ได้อยู่ในความตกลง TPP อย่างไรก็ตาม ความตกลง RCEP มีบทบาทที่ส าคัญใน ด้านของการเชื่อมโยงและขับเคลื่อนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน (intraASEAN integration) และการผลักดันให้จีนและอินเดียมีการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมความพร้อมใน การเข้าเป็นภาคีในความตกลงการค้าที่ครอบคลุมการเปิดเสรีในทุกสาขาต่อไป

พลวัตของควำมตกลง TPP และประชำคมเศรษฐกิจอำเซียน (AEC)

  1. ปัจจุบันความตกลง TPP มีประเทศภาคีที่เป็นสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศ ได้แก่ บรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม และมีประเทศสมาชิกอาเซียนอีก 3 ประเทศที่ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะเข้าร่วมเป็นภาคีใหม่ ในความตกลง TPP ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ส่งผลให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอีก 3 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว และเมียนมาร์ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจที่เล็กและมีระดับการพัฒนาน้อยอาจไม่สามารถ ยอมรับมาตรฐานที่สูงภายใต้ความตกลง TPP ได้และถูกมองข้าม
  2. ทั้งนี้ โดยที่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย เป็นประเทศที่มีขนาดและระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่สูง กว่าเวียดนามที่เป็นประเทศภาคีเดิมของความตกลง TPP จึงเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ประเทศดังกล่าวจะต้อง ยอมรับมาตรฐานที่สูงภายใต้ความตกลงฯ โดยไม่ได้รับการผ่อนปรนเงื่อนไข และจะต้องมีการปฏิรูป นโยบายตลอดระบบเศรษฐกิจก่อนที่จะสามารถเข้าเป็นภาคีได้
  3. ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบของความตกลง TPP ต่อเป้าหมายของ AEC ในกรณีที่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ ไทย เข้าร่วมความตกลง TPP ในอนาคต กลุ่มประเทศภาคี TPP อาจต้องพิจารณาการก าหนดเงื่อนไขขั้น ต่ า (de minimis exception) ส าหรับประเทศก าลังพัฒนาที่อยู่ในกรอบการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกับ ประเทศภาคี TPPส ำนักงำนพำณิชย์ในต่ำงประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน 3

TPP และบทบำทขององค์กำรกำรค้ำโลก (WTO)

  1. ความตกลง TPP มีองค์ประกอบที่สามารถช่วยฟื้นฟูการเจรจาภายใต้ WTO หากประเทศสมาชิก WTO พร้อมที่เปิดรับประเด็นการค้าในเศรษฐกิจยุคใหม่ เช่น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการเคลื่อนย้ายข้อมูล อย่างเสรี (e-commerce and data flows) รัฐวิสาหกิจ (SOEs) กระบวนการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ และเอกชน (ISDS) และมาตรฐานการคุ้มครองแรงงานและสิ่งแวดล้อม มาปรับใช้เพื่อเสริมการเจรจาทั้งใน แบบกลุ่ม (plurilateral approach) และในกรอบพหุภาคีเดิม

ญี่ปุ่นขยายการลงทุนในภาคเกษตรกรรมของเวียดนาม

ผู้ประกอบธุรกิจการเกษตรของญี่ปุ่นขยายการลงทุนในภาคเกษตรกรรมของเวียดนามเพื่อเตรียมรับการเปิดตลาดและ การปรับลดภาษีภายใต้ความตกลง TPP โดยมองถึงการใช้ความตกลง TPP เป็นกลไกที่จะช่วยขยายโอกาสในการส่งออก สินค้าเกษตรของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ภายใต้ความตกลง TPP

ญี่ปุ่นจะต้องเปิดตลาดสินค้าเกษตร ซึ่งจะส่งผลให้สินค้า เกษตรจ านวนมากจากประเทศสมาชิก TPP อื่นเข้ามาแข่งขันในญี่ปุ่นมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสินค้าอ่อนไหว และด้วยโครงสร้างภาคเกษตรกรรมของญี่ปุ่นที่มีขนาดเล็กและต้นทุนสูงจะยิ่งส่งผลให้สินค้าเกษตรของญี่ปุ่นไม่สามารถ แข่งขันได้ ดังนั้น เพื่อให้ญี่ปุ่นสามารถรักษาเสถียรภาพด้านความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศควบคู่ไปกับการเพิ่มการผลิตเพื่อ ตอบสนองความต้องการของตลาดโลก ญี่ปุ่นจึงได้เลือกขยายการลงทุนในภาคเกษตรกรรม (Agro-Forestry-Fisheries) ของเวียดนาม ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศภาคี TPP และมีศักยภาพในการเป็นแหล่งวัตถุดิบทางการเกษตรที่มั่นคงและ หลากหลาย (stable and diversified)

ในขณะเดียวกัน เวียดนามเองก็มองว่า การลงทุนจากญี่ปุ่นจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้าน การเกษตรที่จะสามารถนำมาใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรของเวียดนามทั้งในเชิงปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น และมาตรฐานคุณภาพของสินค้าที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมด้านบรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์ด้านการเก็บรักษาผลผลิต อุตสาหกรรมแปรรูป และโรงเรือนปลูกพืช เป็นต้น

ตัวอย่างโครงการความร่วมมือด้านเกษตรกรรมระหว่างญี่ปุ่นและเวียดนาม

  • บริษัท Kato Group มีโครงการความร่วมมือกับจังหวัด Binh Dinh ในเวียดนาม เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมปลาทู น่าของเวียดนาม ด้วยงบประมาณลงทุน 771,000 เหรียญสหรัฐฯ จนถึงปี 2563 ซึ่งรวมถึงการพัฒนา เทคโนโลยีด้านการประมงและระบบการเก็บรักษาสัตว์น้ าหลังการจับบนเรือประมง (on-board storage) เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานและคุณภาพเพื่อการส่งออกกลับไปยังญี่ปุ่น
  • บริษัท Shudensha มีโครงการมูลค่า 820,000 เหรียญสหรัฐฯ ในการลงทุนเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ าในฟาร์ม เพาะเลี้ยงสัตว์น้ า
  • บริษัท OTA Kaki มีโครงการร่วมกับจังหวัด Lam Dong ในเวียดนาม เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเพาะปลูก ดอกไม้ที่มีความพร้อมและครบวงจรด้านห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่การผลิตส ำนักงำนพำณิชย์ในต่ำงประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน 4
  • บริษัท Nikko Foods อยู่ระหว่างด าเนินโครงการมูลค่า 820,000 เหรียญสหรัฐฯ ส าหรับพัฒนาฟาร์มเพาะปลูก มะเขือเทศที่มีคุณภาพสูง
  •  บริษัทญี่ปุ่นอีกจ านวน 10 ราย มีการลงทุนในจังหวัด Lam Dong ด้านการเพาะปลูกสินค้าเกษตรอินทรีย์
  • บริษัทอื่นๆ เช่น Yanmar, Maruyama MFG, Marumasu Kikai, Nankai Kinzoku สนใจที่จะลงทุนเพิ่มด้าน เทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อการเกษตรและเครื่องจักรการเกษตร

ทั้งนี้ ในปี 2557 ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการลงทุนในเวียดนามมากที่สุดเป็นอันดับ 3 โดยมีมูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 1.84 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 8.1 ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งหมดในเวียดนาม

ฝ่ายบริหารสหรัฐฯ เสนอแนวทางปรับแก้ข้อก ำหนดว่าด้วยการสร้างศูนย์เก็บข้อมูล ในประเทศส ำหรับบริการภาคการเงินผ่านการเจรจา TiSA

นาย Michael Froman ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (United State Trade Representative: USTR) ได้เผยถึงแนวทางการ ผ่อนปรนข้อกังวลของธุรกิจภาคบริการด้านการเงินและสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ ต่อการที่ธุรกิจภาคบริการด้านการเงิน ไม่ได้รับการยกเว้นจากข้อกำหนดว่าด้วยการสร้างศูนย์เก็บข้อมูลในประเทศ (data localization requirement) ภายใต้ความตกลง TPP โดยระบุว่า สหรัฐฯ จะผลักดันประเด็นดังกล่าวในการเจรจาความตกลงการค้าภาคบริการ ระหว่างประเทศ (Trade in Services Agreement: TiSA) แทน ซึ่งมีประเทศภาคี TPP ร่วมการเจรจาอยู่แล้ว 7 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก นิวซีแลนด์ และเปรูโดยสหรัฐฯ จะเสนอให้มีข้อกำหนดเพิ่มเติม ที่ระบุห้ามให้ประเทศภาคี TiSA บังคับให้ผู้ประกอบการธุรกิจการเงินต้องสร้างศูนย์เก็บข้อมูลในประเทศที่ดำเนินธุรกิจ ยกเว้นในกรณีที่ประเทศนั้นๆ จะพิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นของบริษัทผู้ประกอบการได้เพื่อใช้ในการ การกำหนดนโยบายและกำกับดูแลการดำเนินธุรกิจภาคบริการด้านการเงินของประเทศ ทั้งนี้ สำหรับอีก 4 ประเทศภาคี TPP ที่ไม่ได้ร่วมอยู่ในการเจรจาความตกลง TiSA ได้แก่ บรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม นั้น ฝ่ายบริหารสหรัฐฯ จะบรรจุประเด็นดังกล่าวลงไว้ร่วมกับประเด็นอื่นๆ ที่ต้องได้รับการแก้ไขก่อนที่จะบังคับใช้ความตกลง TPP

ข้อเสนอแนวทางดังกล่าวได้รับท่าทีตอบรับที่เป็นบวกจาก ส.ส. Dave Reichert (พรรค Republican รัฐ Washington) ประธาน และ ส.ส. Ron Kind (พรรค Democrat รัฐ Wisconsin) สมาชิก คณะอนุกรรมาธิการ Ways and Means Trade Subcommittee และกลุ่มธุรกิจภาคบริการ เช่น Coalition of Services Industries และ Financial Services Roundtable ซึ่งได้ออกมาแสดงความพร้อมที่จะให้การสนับสนุนความตกลง TPP และขอให้รัฐสภาสหรัฐฯ เร่งผ่าน ความเห็นชอบความตกลงฯ ให้ส าเร็จภายในสิ้นปี 2559 นี้

Share This Post!

255 views

Newsletter Subscription

สนใจรับข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นโอกาสของไทย
Email Address
Secure and Spam free...
Go to Top