อุปทูตสหรัฐฯ เชื่อมั่นศักยภาพการค้า แนะไทย-อาเซียนปรับกฏให้เป็นมาตรฐาน

อุปทูตสหรัฐฯ เชื่อมั่นศักยภาพการค้า แนะไทย-อาเซียนปรับกฏให้เป็นมาตรฐาน

ไทยและสหรัฐอเมริกามีความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจที่ดีกันมาต่อเนื่องยาวนาน และหลังจากนี้แนวโน้มจะมุ่งหน้าไปในทิศทางใด ตลอดจนไทยควรยกระดับความสามารถในการแข่งขันของตนเองอย่างไร

“ฐานเศรษฐกิจ” มีโอกาสพูดคุยกับนายปีเตอร์ เฮย์มอนด์ อุปทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ถึงมุมมองของท่านต่อเรื่องนี้ อุปทูตเฮย์มอนด์กล่าวว่าการค้าระหว่างไทยและสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่นในด้านสินค้าเกษตรมีการเติบโตขึ้นมาโดยตลอด โดยในปีที่ผ่านมามูลค่าการส่งออกจากสหรัฐฯ มาไทยอยู่ที่ประมาณ 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อ 2-3 ปีก่อนและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในอีก 2 ปีข้างหน้า

ขณะเดียวกันไทยส่งออกไปยังสหรัฐฯ เป็นมูลค่า 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าส่งออกจากสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นส่วนผสมที่นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ของไทย เช่น ฝ้าย หนัง อาหารสัตว์ ส่วนฝ่ายไทยส่งออกผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จรูปหรือผ่านการแปรรูปแล้ว ซึ่งถือว่าได้ประโยชน์ กับทั้งสองฝ่าย โอกาสความร่วมมือกันมีมาก ขณะเดียวกันในภาพรวมแม้ว่าการส่งออกของไทยชะลอตัวลงเล็กน้อยในช่วง 2-3 ปีเนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ แต่รัฐบาลไทยก็มีความพยายามที่จะยกระดับการส่งออกไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีความไฮเทคมากขึ้น ซึ่งบริษัทสหรัฐฯ จำนวนมากที่เข้ามาลงทุนในไทย บางบริษัทเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ นอกจากจะเข้ามา สร้างงานที่ดีเป็นจำนวนมากให้กับแรงงานไทยแล้ว ยังได้ช่วยฝึกฝนทักษะใหม่ๆ ให้แรงงานไทย

นอกจากนี้ยังร่วมมือกับบริษัทและมหาวิทยาลัยของไทยในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถช่วยยกระดับความสามารถ ในการแข่งขันให้กับไทยได้ นับว่ายังมีโอกาสอีกมากที่ไทยและสหรัฐฯ จะจับมือกันเพื่อกระตุ้นการค้าระหว่างทั้ง สองประเทศ “แนวคิดของการค้าคือการนำสิ่งที่ประเทศหนึ่งทำได้ดี หรือเป็นสินค้าเฉพาะถิ่นของประเทศนั้นๆ มาซื้อขายแลกเปลี่ยนกับประเทศอื่นๆ ที่อาจจะไม่เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นหรือไม่มีทรัพยากรเรามีความสัมพันธ์ทางการค้าที่เป็นบวกกับไทยมาเป็นเวลาหลายต่อหลายปีและเราคาดว่ามันจะดำเนินต่อไป”

ทั้งนี้ สหรัฐฯ เป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 3 ของไทยรองจากญี่ปุ่นและจีน ด้วยมูลค่าการค้ารวมกว่า 3.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2558 โดยการส่งออกจากสหรัฐฯ มายังไทยมีมูลค่า 1.12 หมื่นล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ ลดลง 4.8% จากปี 2557 เป็นสินค้าประเภทเครื่องจักร ทองคำ เครื่องบิน เวชภัณฑ์ และสินค้า เกษตรเป็นหลัก ส่วนการส่งออกจากไทยไปสหรัฐฯ ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 2.86 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 5.4% สำหรับทิศทางการค้าต่อจากนี้

ท่านอุปทูตเฮย์มอนด์มองว่า ไทยกำลังมองหาเทคโนโลยีใหม่ๆ พลังงาน ใหม่ ขณะที่ในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่สหรัฐฯ เข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทยเวลานาน ก็กำลังมองไปสู่อนาคตใน การพัฒนาของรถยนต์รูปแบบใหม่ ด้านสินค้าเกษตรก็ยังคงมีศักยภาพ อาหารไทยนับเป็นหนึ่งในอาหารต่างชาติ ที่ชาวอเมริกันนิยม ขณะเดียวกันในปัจจุบันฐานรายได้ของคนไทยเองก็เพิ่มขึ้น และผู้บริโภคชาวไทยให้ความสนใจอย่างมากกับอาหารคุณภาพสูงที่มาจากสหรัฐฯ นอกจากนี้ เมื่ออาเซียนมีการรวมตัวกันใกล้ชิดมากขึ้น อุปทูตเฮย์มอนด์เชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นการค้ากับ สหรัฐฯ ในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมาตรฐานเป็นไปในระบบเดียวกันทั่วอาเซียน จะทำให้การผลิตและส่ง สินค้าไปจำหน่ายทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียนทำได้ง่ายขึ้น “บริษัทสหรัฐฯ จำนวนมากเข้ามาลงทุนในไทยตลอดหลายปีที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นการลงทุนเพื่อ จำหน่ายในตลาดไทย ซึ่งมีขนาดใหญ่อันดับ 2 ของอาเซียนแล้ว ยังมองประเทศไทยเป็นฐานในการผลิตส าหรับ ตลาดอาเซียนด้วย เนื่องจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ทักษะที่ดีของแรงงานไทย และนโยบายที่ค่อนข้างเอื้อต่อธุรกิจ ซึ่งช่วยสร้างการลงทุนและการค้าให้กับไทยได้อย่างมาก และเราคาดว่าแนวโน้มดังกล่าวจะดำเนินต่อไป”

แนะไทยยกระดับมาตรฐานสากล เมื่อถามว่าไทยจะยกระดับความสามารถในการแข่งขันของตนเองเพิ่มเติมได้อย่างไรบ้าง อุปทูตเฮย์ มอนด์กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ดีถ้าไทยจะปรับเปลี่ยนมาตรฐานไปสู่ระดับสากล ซึ่งเชื่อว่าไทยก็กำลังทำอยู่ ทั้งในเรื่อง ของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตจากต่างชาติรู้สึกมั่นใจมากขึ้นที่จะเข้ามาลงทุน หรือ มาตรฐานอื่นๆ เช่น ความปลอดภัยทางอาหาร ซึ่งจะช่วยดึงสินค้าคุณภาพสูงจากต่างประเทศเข้ามา ดึงเม็ดเงิน ลงทุนเข้ามามากขึ้น ตลอดจนกฎและระเบียบการด้านศุลกากร “ไทยเองก็มีกฎเกณฑ์ของตัวเองอยู่แล้วและ ค่อนข้างประสบความส าเร็จตลอดช่วงที่ผ่านมา แต่ผมเชื่อว่าถ้าเปลี่ยนไปสู่มาตรฐานสากล ก็จะยิ่งทำให้ไทยมี ความน่าสนใจและมีความสามารถในการแข่งขันในระดับโลกเพิ่มขึ้น” และเมื่อพูดคุยถึงเรื่องการค้า คงหนีไม่พ้นที่จะต้องสอบถามความเห็นเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีที่ สหรัฐฯ กำลังพยายามผลักดัน นั่นคือ ความตกลงหุ้นยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ ทีพีพี ซึ่ง ท่านอุปทูตกล่าวว่า ทีพีพีเป็นข้อตกลงระดับภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยทำกันมา โดยขนาดเศรษฐกิจของ ประเทศสมาชิกทั้ง 12 ประเทศคิดเป็นสัดส่วน 40% ของจีดีพีทั่วโลก และเมื่อทีพีพีมีผลบังคับใช้ก็จะเป็นการ กำหนดมาตรฐานทางการค้าที่จะมีอิทธิพลมากในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อย่างไรก็ดี เวลานี้ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศกำลังให้ความส าคัญกับกระบวนการรับรองข้อตกลง ดังกล่าว ซึ่งคงจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งก่อนจะมีผลบังคับใช้ และสหรัฐฯ เองจะเดินหน้าพูดคุยกับไทยใน ฐานะที่เป็นคู่ค้ากันมายาวนาน เพื่อหาช่องทางขยายขอบข่ายการค้าและการแลกเปลี่ยนระหว่างทั้งสองประเทศ ต่อไป

ดูข่าวนี้ได้ที่นี่

ขอขอบคุณข่าวจาก  กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

33 views

Newsletter Subscription

สนใจรับข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นโอกาสของไทย
Email Address
Secure and Spam free...
Go to Top