แง้มนโยบายการค้าสหรัฐฯ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

แง้มนโยบายการค้าสหรัฐฯ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

ขอบขอบคุณภาพจาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

หลังประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่ง ได้ประกาศนโยบายอเมริกาต้องมาก่อน (America First) สร้างความระส่ำระสายต่อเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะประเด็นการประกาศถอนตัวจากการทำความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) ส่งผลกระทบต่อสมาชิก 11 ประเทศ สหรัฐต้องหวน กลับไปเจรจาความตกลงการค้าเสรีทวิภาคี ควบคู่ความหวั่นเกรง นโยบายที่สหรัฐจะใช้มาตรการทางการค้ากับ ประเทศคู่ค้า “ประชาชาติธุรกิจ” ได้มี โอกาสสัมภาษณ์ “อภิรดี ตันตราภรณ์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ถึงแนวทางการดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศนับจากนี้ และการเตรียมประเด็นหารือกรอบการค้าและ การลงทุนระหว่างไทยกับสหรัฐ (TIFA) ในเดือนเมษายนนี้

นโยบายเจรจาการค้ากับสหรัฐ

การเจรจากับสหรัฐมีหลายรูปแบบ ทั้งตามนโยบายนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีที่ ต้องการให้ไทยเจรจาเพื่อสร้างความเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ หรือ Strategic Partnership ซึ่งไทยมีกรอบการ เจรจาความตกลงการค้าและการลงทุนไทย- สหรัฐ (TIFA) อยู่สามารถคุยภายใต้กรอบ TIFA ไปก่อน เพราะมี แนวทางเดิมอยู่แล้ว

TIFA เป็นความร่วมมือหลวม ๆใช่ กรอบนี้เป็นความร่วมมือ จะเน้นไปที่การเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาและ อุปสรรคทางการค้า ส่วนการเปิดตลาดหรือลดภาษีจะไม่มีการคุยกัน การลดภาษีไม่ได้ถือเป็นประเด็นหลัก เพราะปัจจุบันระดับอัตราภาษีของไทย-สหรัฐค่อนข้างลดลงต่ำมากแล้ว

โอกาสฟื้น FTA ไทย-สหรัฐ

ขณะนี้สหรัฐมี TPP (ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก) ซึ่งเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบ (Benchmark) อยู่แล้ว ดังนั้น การจะเจรจาความตกลงเอฟทีเอไทย-สหรัฐ เป็นไปได้ที่จะใช้ระดับ มาตรฐานเดียวกับ TPP แล้วไทยจะรับได้หรือไม่ เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ซึ่งถอนตัวออกจาก TPP จะเจรจาใหม่ โดยลดระดับมาตรฐานลงจาก TPP เดิมที่เคยตกลงไว้แล้ว ดังนั้น เรา ต้องเตรียมท่าที เรื่องต่าง ๆ ที่เคยเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกัน เช่นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาจะมีแนวทางเช่นไร ขณะนี้มองว่าเราต้องเดินหน้าเจรจาความ ตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภายในภูมิภาค (RCEP) ของ 16 ประเทศให้เสร็จสิ้นโดยเร็วจะดีกว่า

ประเด็นที่จะหารือใน TIFA

รอบนี้การแก้ปัญหาอุปสรรคการค้าไทย-สหรัฐ ที่ค้างอยู่ เช่น การส่งออกสินค้าเครื่องหนัง ความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพราะไทยกำลังก้าวสู่การเป็นเศรษฐกิจ New Economy เราเน้นการให้ความคุ้มครอง ทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องปรับปรุงระบบและเพิ่มการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นเพื่อคุ้มครองนักคิดของไทยไม่ใช่ทำเพื่อนักลงทุนต่างชาติอย่างเดียว เพราะปัจจุบัน มีการวิจัยและพัฒนาสารสกัดจากพืชผลิตเป็นยารักษาโรคมะเร็งและต้องส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มซึ่งไทยอาจขอให้สหรัฐเข้ามาช่วยเหลือในการวิจัยและพัฒนาด้านนี้ร่วมกัน

ส่วนการทบทวนสถานะประเทศคู่ค้าตามกฎหมาย 301 Special ที่จัดให้ไทยเป็นประเทศที่มีการ ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในกลุ่มที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ หรือ PWL นั้น ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาดูแล การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ (Action Plan) อยู่แล้วขึ้นบัญชี PWL 9 ปีไม่มีมาตรการอะไรอย่าไปประมาท เพราะถึงอย่างไรเราต้องท าให้ดีขึ้น

สหรัฐจะเพิ่มมาตรการแรงงานหลายประเทศให้ความส าคัญ เช่น อัครราชทูตฟินแลนด์มีการหารือเรื่อง นี้ เรากำลังปรับปรุงเรื่องสวัสดิการความเป็นอยู่ของแรงงาน หากไทยพัฒนาไปสู่การผลิตสินค้าที่มีนวัตกรรมท า ให้มีมูลค่าจะช่วยด้านสวัสดิการแรงงานทางอ้อมจำเป็นต้องปรับกฎหมายแรงงาน ทางกระทรวงแรงงานกำลังพิจารณาในรายละเอียด ต้องเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญา ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และปฏิบัติตามมาตรฐานสากลทางด้านแรงงาน

ทรัมป์ดึงธุรกิจกลับสหรัฐกระทบลงทุนไทย

ถึงสหรัฐมีนโยบายสนับสนุนให้นักธุรกิจสหรัฐกลับไปลงทุนในประเทศมากขึ้นแต่คงยังไม่มีการเคลื่อนย้ายกลับในทันทีเพราะมีหลายปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจลงทุน เช่น ความได้เปรียบเรื่อง แรงงานฐานวัตถุดิบ หรือบางกลุ่มเข้ามาผลิตเพื่อขายในตลาดอาเซียน หากย้ายการลงทุนกลับไปมีต้นทุนค่าขนส่ง

ระยะสั้น บ.สหรัฐไม่ย้ายทุนกลับ

บางส่วนอาจจะกลับไป แต่คงไม่มากจนทำให้มีผลว่าเงินทุนไหลออกไปมาก ในอดีตเคยมีการเจรจา ความตกลงเขตการค้าเสรีเอฟทีเอ ไทยเคยจะขอลดภาษีรองเท้า แต่สหรัฐไม่ยอม เพราะต้องการปกป้องแบรนด์ รองเท้าสหรัฐ แต่ปัจจุบันโรงงานดังกล่าวย้ายฐานผลิตไปในจีนขายทั่วโลก ขายดีกว่าที่คุ้มครองแรงงาน 500 คน ในบอสตัน

จะมีการประชุม กนศ.

คงจะประชุมในเร็ว ๆ นี้

แก้เกมช่วยชาวไร่มันถูกกดราคารับซื้อ

ปัญหาเรื่องราคามันสำปะหลังตกต่ำ เป็นสิ่งที่กระทรวงตระหนักดีว่าทั้งผู้ผลิตมันเส้นและเกษตรกรได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้และได้แจ้งกับผู้ผลิตไปแล้วว่า อย่างแรกคือ ไทยไม่ควรจะพึ่งพาตลาดจีน 90% ควร จะกระจายไปหาตลาดใหม่ หรือนำมันเส้นมาผลิต ต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกิด ขึ้นมาหลายสิบปีแล้ว ไม่ใช่เรื่องที่จะสามารถแก้ไขได้ในทันที แต่ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจได้ช่วยเร่งหาตลาดใหม่ โดยนำ คณะบริษัท ผู้นำเข้าจากอินเดีย 5 ราย เดินทางมาเจรจาซื้อผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจากไทยเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 ได้รับ ค าสั่งซื้อทันทีมูลค่า 571 ล้านบาท และเร็ว ๆ นี้จะมีการน าคณะสมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย เดินทางไป สำรวจโอกาสการลงทุนโรงแป้งที่ เมือง เชนไน ประเทศอินเดีย เพราะที่ผ่านมาอินเดียเก็บภาษีแป้งนำเข้าสูง ไทยจึงจะไปลงทุนเพื่อผลิตแป้ง เพื่อจำหน่ายในตลาดอินเดีย ขณะเดียวกัน ได้พบกับ นางซาตู ซุยก์การี-เคลฟเวน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฟินแลนด์ เพื่อหารือ ประเด็นที่ภาคเอกชนฟินแลนด์แสดงความสนใ0ที่ จะนำบริษัทมาลงนามร่วมทุนผลิตเอทานอล ที่ จ. อุบลราชธานี

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่ากฎหมายไทยไม่ได้เอื้อให้นักลงทุนต่างชาติ แต่การเข้ามาลงทุนจากนักลงทุน เหล่านี้เกิดจากการหาช่องทางที่เป็นช่องโหว่ทางกฎหมายเข้ามาขยายการลงทุน

หากไทยไม่สามารถแก้ไขปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำได้ จำเป็นต้องใช้มาตรการตั้งราคาขั้นต่ำหรือไม่ นางอภิรดีระบุว่า ต้องคำนึงถึงผลกระทบ จากการกำหนดราคาขั้นต่ำด้วยว่า อาจทำให้คู่แข่งอย่างเวียดนาม ส่งออกได้มากขึ้น ดังนั้น การกระจายตลาดหรือไม่ก็แปรรูปมันเส้นเป็นแอลกอฮอล์ในประเทศแล้วขายออกไป จะเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดีกว่า

ที่มา: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

382 views

Newsletter Subscription

สนใจรับข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นโอกาสของไทย
Email Address
Secure and Spam free...
Go to Top