NOAA เผยกลยุทธ์ปี 2021-2025 ในการเพิ่มการเติบโตของเศรษฐกิจสีน้ำเงินสหรัฐฯ

2021-02-11T16:25:38-05:00February 11, 2021|Categories: เศรษฐกิจ|Tags: , , , , , , |

ในปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงไทย ต่างเริ่มตื่นตัวและตระหนักรู้ถึงภัยธรรมชาติที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า วิกฤติการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผลลัพธ์จากการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งสิ้น หนึ่งในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและได้รับความสนใจจากชาวไทยและชาวต่างชาติจำนวนมากคือ ข่าวการตายของ “มาเรียม” พะยูนเน็ตไอดอล เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นสามารถดึงความสนใจและทำให้คนไทยตระหนักถึงภัยร้ายของพลาสติก โดยเฉพาะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use plastic) กันมากยิ่งขึ้นในปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงไทย ต่างเริ่มตื่นตัวและตระหนักรู้ถึงภัยธรรมชาติที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า วิกฤติการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผลลัพธ์จากการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งสิ้น หนึ่งในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและได้รับความสนใจจากชาวไทยและชาวต่างชาติจำนวนมากคือ ข่าวการตายของ “มาเรียม” พะยูนเน็ตไอดอล เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นสามารถดึงความสนใจและทำให้คนไทยตระหนักถึงภัยร้ายของพลาสติก โดยเฉพาะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use plastic) กันมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผลการชันสูตรจากสัตวแพทย์พบว่า ในลำไส้ของมาเรียมเต็มไปด้วยเศษพลาสติกชิ้นเล็กชิ้นน้อย ซึ่งแน่นอนว่าพลาสติกดังกล่าวมีต้นทางมาจากขยะพลาสติกของมนุษย์จากบนบกนั่นเอง และด้วยเหตุนี้เองแนวคิดเรื่อง “Blue Economy” หรือ “เศรษฐกิจสีน้ำเงิน” จึงถือเป็นสิ่งที่น่าศึกษาและนำมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่งให้ยั่งยืนสืบไป

เศรษฐกิจสีน้ำเงิน คือ แนวคิดที่นำเอาความยั่งยืนมาประยุกต์ใช้กับสิ่งแวดล้อมทางทะเล และการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม โดยให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืน และไม่ส่งผลเสียต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามชายฝั่งและในทะเล ซึ่งแนวคิดนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในการประชุม United Nations Conference on Sustainable Development หรือที่เรียกกันในนาม “RIO+20” ณ นครรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อปี 2012

หลังจากการประชุมดังกล่าว แนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงินได้รับกระแสตอบรับจากทั่วโลกเป็นอย่างดี จากองค์การสหประชาชาติ ธนาคารโลก หรือกลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ต่างให้ความสำคัญกับแนวคิดนี้จนเกิดเป็นนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจสีน้ำเงิน ซึ่งจะครอบคลุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลทั้งทางตรงและทางอ้อม

ล่าสุดหน่วยงานประมงขององค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ (National Oceanic and Atmospheric Administration) หรือ NOAA ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและส่งเสริมการทำประมงที่ยั่งยืนและปลอดภัยต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ ภายใต้การดูแลของกระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดตัวแผนกลยุทธ์เศรษฐกิจ Blue Economy สำหรับปี 2021-2025 โดยกำหนดแผนงานสำหรับวิธีการใหม่ ๆ ในการพัฒนาเศรษฐกิจสีน้ำเงินของสหรัฐฯ และเสริมสร้างเศรษฐกิจในมหาสมุทรทั่วโลก ที่คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นสองเท่าเป็น 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในทศวรรษหน้า

การดำเนินงานของ NOAA สนับสนุนเศรษฐกิจชายฝั่งและกลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่แถบชายฝั่งราว 127 ล้านคน หรือคิดเป็น 40% ของประชากรสหรัฐฯ โดยในปี 2018 เศรษฐกิจสีน้ำเงินของสหรัฐฯ สนับสนุนการจ้างงาน 2.3 ล้านตำแหน่ง และสร้างรายได้ราว 373 พันล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การท่องเที่ยวและสันทนาการ การขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ การประมงเชิงพาณิชย์และสันทนาการ การผลิตกระแสไฟฟ้า การวิจัย รวมถึงสินค้าและบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

“การสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจสีน้ำเงิน ทำให้เราสามารถช่วยเร่งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศได้” ดร.ทิม กัลลอเดท ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ฝ่ายมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศ และรองผู้บริหาร NOAA กล่าว “แผนนี้แสดงให้เห็นว่า NOAA สามารถเพิ่มผลประโยชน์ของเศรษฐกิจสีน้ำเงิน ให้กับชาวอเมริกันทุกคนได้อย่างไร”

แผนยุทธศาสตร์ซึ่ง NOAA จะดำเนินการผ่านโครงการริเริ่มของหน่วยงานต่าง ๆ มุ่งเน้นไปยัง 5 สาขา ได้แก่ การขนส่งทางทะเล การสำรวจมหาสมุทร ความสามารถในการแข่งขันด้านอาหารทะเล การท่องเที่ยวและการพักผ่อนหย่อนใจ และโครงการเพื่อลดความเสี่ยงทางธรรมชาติของชุมชนชายฝั่ง ผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน

ซึ่งทาง NOAA วางแผนที่จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสาขาเหล่านี้ โดยใช้ประโยชน์จากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ และการพัฒนาแนวคิด STEM education ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมใหม่ และความพยายามในการเผยแพร่ เพื่อเป็นการฝึกอบรมผู้นำเศรษฐกิจสีน้ำเงินในรุ่นต่อ ๆ ไป

การประยุกต์ใช้ Blue Economy นี้ควรเป็นการร่วมดำเนินการจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน เนื่องจากทุกคนล้วนมีส่วนรับผิดชอบในการดูแลรักษา และอนุรักษ์สภาวะแวดล้อม การที่มีภาครัฐของประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวจึงเป็นสัญญาณที่ดี โดยเฉพาะสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันให้ความสำคัญกับประเด็นสภาพภูมิอากาศและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง

ที่มา:                                                                                                                                                                                                             https://www.commerce.gov/news/blog/2021/01/noaa-finalizes-strategy-enhance-growth-american-blue-economy / http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/tpso_journal_feb_62_issue_91.pdf

626 views

Newsletter Subscription

สนใจรับข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นโอกาสของไทย
Email Address
Secure and Spam free...
Go to Top