อนาคตการส่งออกข้าวไทยจะเป็นอย่างไรหลังข้าวไทยคว้ารางวัลระดับโลก

เป็นข่าวคึกโครมส่งท้ายปีเมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 หลังประเทศไทยทวงแชมป์คว้ารางวัลข้าวรสชาติดีที่สุดในโลกจากงาน “World Rice Conference” ครั้งที่ 12 จัดเมื่อวันที่ 1 – 3 ธันวาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นแบบออนไลน์เป็นครั้งแรกอันสืบเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยเปิดเผยว่า ทางสมาคมฯ ได้ส่งข้าวหอมมะลิเข้าประกวดในงาน ซึ่งผลปรากฏว่า “ข้าวหอมมะลิไทย” พันธุ์ “ข้าวขาวดอกมะลิ 105” คว้ารางวัลข้าวรสชาติที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2563  ส่งผลทำให้ประเทศไทยได้กลับมาเป็นแชมป์อีกครั้งหนึ่ง ผ่านการตัดสิน 4 ด้านหลัก ได้แก่ กลิ่น รสชาติ ความเหนียวนุ่ม และรูปร่างลักษณะข้าว ที่ใช้วิธีตัดสินด้วยการทดสอบโดยไม่เปิดเผยตราสินค้า (Blind testing)

“ข้าว” ถือว่าเป็นอาหารหลักของคนไทยและยังเคยขึ้นแท่นเป็นสินค้าการเกษตรส่งออกอันดับหนึ่งในภูมิภาค แต่ประเทศไทยกลายมาเป็นรองในการส่งออกข้าวที่ไทยเคยครองแชมป์มาตลอด โดยเมื่อปี พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา ประเทศไทยทำการส่งออกข้าวไปเพียงแค่ 5.8 ล้านตัน

สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยข้อมูลกรมศุลกากรว่า การส่งออกข้าวในปี พ.ศ. 2563 มีปริมาณ 5.4 ล้านตัน จากเป้าที่ตั้งเอาไว้ที่ 6 ล้านตัน ลดลง 26.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีมูลค่า 106,656 ล้านบาท หรือ 3,418.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 12.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งไทยถือเป็นผู้ส่งออกอันดับ 3 รองจากคู่แข่งอินเดียที่ส่งออกได้ 13.05 ล้านตัน และเวียดนามส่งออกได้ 5.79 ล้านตัน

จากสถานการณ์ที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้น ทำให้ราคาข้าวของไทยแพงกว่าประเทศคู่แข่งถึง 150 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ในขณะที่ราคาส่งออกข้าวอินเดียขยายตัวต่ำกว่าราคาส่งออกข้าวรายอื่น ๆ ทำให้ประเทศผู้นำเข้าข้าวทั้งแอฟริกาและตะวันออกกลางนำเข้าข้าวจากอินเดียมากขึ้น ส่งผลให้การส่งออกข้าวของอินเดียฟื้นตัวดีขึ้น

อีกทั้งตลาดบริโภคข้าวกลุ่มใหญ่หันมาบริโภคข้าวพื้นนิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีลักษณะเหนียว นุ่ม จากเดิมที่เคยนิยมบริโภคข้าวพื้นแข็ง ร่วน แข็งกระด้าง นอกจากนี้ยังพบว่า เวียดนามสามารถพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นนิ่มและยกระดับปริมาณการผลิตได้เพียงพอต่อการส่งออก และเจาะตลาดไปจีน

ในขณะเดียวกัน ที่ไทยมีข้าวพื้นนิ่มคือข้าวหอมมะลิ และข้าวหอมปทุมธานีซึ่งเป็นกลุ่มข้าวพรีเมียมที่มีสัดส่วนการส่งออกรวมกัน 15% เท่านั้นในปี 2563 ผลผลิตข้าวไทยส่วนใหญ่เป็นข้าวพื้นแข็ง มีการส่งออก 44% ของปริมาณการส่งออกข้าวโดยรวม รองลงมาคือข้าวนึ่ง 29% ข้าวประเภทอื่น 12% สะท้อนว่าข้าวไทยยังไม่สามารถตอบโจทย์ความนิยมบริโภคข้าวกลุ่มใหญ่ในตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเปิดเผยกับผู้สื่อข่าววันนี้ (4 ม.ค. 64) ถึงความคืบหน้าการต่ออายุโครงการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalized System of Preferences – GSP) ที่สหรัฐฯให้กับ 119 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นการให้ฝ่ายเดียว กับสินค้ากว่า 3,500 รายการ ที่ได้หมดอายุโครงการแล้วเมื่อ 31 ธันวาคม 2563

นางอรมนฯ เปิดเผยว่า เมื่อพิจารณาสถิติรายเดือนสะท้อนให้เห็นว่า ความต้องการสินค้าเกษตรของไทยมีทิศทางเพิ่มขึ้น เฉพาะเดือน พ.ย. 2563 ไทยส่งออกสินค้าเกษตรไปประเทศคู่เอฟทีเอมีมูลค่ารวม 1,228 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 12% จากเดือน ต.ค. ปีเดียวกัน นอกจากนี้ ยังพบว่าการส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญของไทยมีแนวโน้มที่ดี อาทิ ข้าว ยางพารา และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง

274 views

Newsletter Subscription

สนใจรับข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นโอกาสของไทย
Email Address
Secure and Spam free...

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้จัดทำรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ข้าวไทยเมื่อปี พ.ศ.2561 โดยระบุว่าสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกและผู้บริโภคข้าวรายสำคัญของโลก โดยในปี พ.ศ.2560 สหรัฐฯ มีการส่งออกข้าวเป็นมูลค่า 1,718.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีมูลค่าการนำเข้า 666.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าข้าวมายังสหรัฐฯ รายใหญ่ที่สุด คิดเป็นร้อยละ 57.73 ของการนำเข้าข้าวทั้งหมด ของสหรัฐฯ ซึ่งส่วนใหญ่คือ ข้าวหอมมะลิ

การนำเข้าข้าวของสหรัฐฯ ขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา โดยการเติบโตของความต้องการข้าวประเภทต่างๆ และการเติบโตของสินค้าที่ทำมาจากข้าว เป็นปัจจัยที่ผลักดันการ ขยายตัวของการนำเข้า เนื่องจากการขยายตัวของประชากรหลายเชื้อสายในสหรัฐฯ ที่บริโภคข้าวเป็นหลัก โดยการนำเข้าข้าวส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิจากไทยและข้าวบาสมาติจากอินเดีย ซึ่งคาดว่าการนำเข้าข้าวหอมมะลิจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนกว่าผู้ผลิตข้าวสหรัฐฯ จะสามารถผลิตข้าวหอมมะลิเข้าสู่ตลาดได้เอง

Go to Top